อัตราภาษีรถยนต์ คิดยังไง? และสามารถต่อภาษีรถยนต์ ได้ที่ไหนบ้าง?
วิธีการคิดคำนวณอัตราภาษีรถยนต์ที่ต้องจ่าย อีกหนึ่งเรื่องที่ปวดหัวสำหรับการพารถคันเก่งของคุณไปต่อภาษีรถยนต์ นั่นคือ รถของคุณต้องจ่ายภาษีรถยนต์เท่าไหร่กันนะ? เจ้าของรถควรมีความรู้ ความเข้าใจ เป็นข้อมูลพื้นฐานเอาไว้ให้ดีจะได้ไม่พลาดในการเตรียมเงินสำหรับการจ่ายภาษีรถยนต์ของคุณนั่นเอง
สำหรับอัตราภาษีรถยนต์นั้น จะคิดเหมารวมกันแบ่งตามรูปแบบการใช้งานของรถประเภทต่าง ๆ เช่น ประเภทรถ, รุ่นรถ, ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี), น้ำหนักรถ, อายุรถ, รถใช้งานทั่วไป, รถสาธารณะ, หรือ รถที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ จะมีอัตราการจ่ายภาษีรถยนต์ที่แตกต่างกัน รวมไปถึงขนาดของเครื่องยนต์ของคุณที่ใช้งาน (ตาม ซีซี) จะมีผลโดยตรงต่อการคิดคำนวณอัตราภาษีรถยนต์อยู่ด้วย แต่อัตราภาษีรถยนต์นั้นโดยมาตรฐานแล้วจะคิดจากอัตราค่ากระบอกสูบ โดยจะมีการคำนวณดังนี้
- รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ
รถป้ายทะเบียนพื้นสีขาวตัวหนังสือสีดำ คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ได้แก่ รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (ซีซี) โดยรายละเอียดมีดังนี้
- ความจุกระบอกสูบรถตั้งแต่ 1-600 cc จะคิดอัตราภาษีอยู่ที่ cc ละ 50 สตางค์
- ความจุกระบอกสูบรถตั้งแต่ 601-1800 cc จะคิดอัตราภาษีอยู่ที่ cc ละ 50 บาท
- ความจุกระบอกสูบรถตั้งแต่ 1801 cc ขึ้นไป จะคิดอัตราภาษีอยู่ที่ cc ละ 4 บาท
รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังต่อไปนี้
- อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- อายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- อายุการใช้งานเกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- อายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- อายุการใช้งานเกิน 10 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์
รถยนต์ ยี่ห้อ BMW รุ่น 330 มีอายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 2,979 cc
ในช่วง 600 cc แรก / cc ละ 0.5 สตางค์ = 600 x 0.5 = 300 บาท
- ช่วง 601-1800 cc / cc ละ 1.50 บาท = (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
- ส่วนที่เกินจาก 1800 cc / cc ละ 4 บาท = (2,979 – 1,800) x 4 = 1179 x 4.00 = 4,716 บาท
รวมค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องจ่าย = 300 + 1,800 + 4,716 บาท = 6,816 บาท
***หากคุณเสียภาษีช้าจะต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน (เศษของ 1 วันนับต่อเป็น 1 เดือน)
- รถป้ายทะเบียนพื้นสีขาวตัวหนังสือสีเขียว
รถป้ายทะเบียนพื้นสีขาวตัวหนังสือสีเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง ซึ่งการคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท
- รถป้ายทะเบียนพื้นสีขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน
รถป้ายทะเบียนพื้นสีขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,600 บาท
- อัตราภาษีจัดเก็บเป็นรายคัน
- อัตราภาษีจัดเก็บเป็นรายคันจะประกอบไปด้วย
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
- รถพ่วงนอกจากรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
- อัตราภาษีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน มีข้อควรรู้ในการชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน หากชำระภาษีเลยวันครบกำหนดวัน ก็จะเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน ทั้งหมดนี้น่าจะช่วยให้หลายๆคน สามารถที่จะคำนวณภาษีรถยนต์ เตรียมเอกสารให้พร้อม และเตรียมเงินที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องไปติดๆขัดๆ ช่วงหน้างานอีกต่อไป แถมยังวางแผนการเงินได้อีกด้วย ประโยชน์คูณสองไปเลย
สามารถต่อภาษีรถยนต์ ได้ที่ไหนบ้าง?
สำหรับการต่อภาษีรถยนต์นั้น คุณสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเองง่ายๆ หรือเลือกใช้บริการผ่านทางระบบออนไลน์ หรือ ตัวแทนรับต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งจะมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก เรารวมรายละเอียดสถานที่ที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ มาไว้ให้แล้ว ดังนี้
- สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
(ไม่ว่ารถคันนั้นจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม คุณก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ขนส่งใกล้กับสถานที่คุณอยู่) ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้ ได้แก่
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
- รถแทรกเตอร์ (รย.13)
- รถบดถนน (รย.14)
- รถพ่วง (รย.16)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้ ได้แก่
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
เงื่อนไข
- เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ซึ่งนายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
- ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนครบกำหนดวันเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)”
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้ ได้แก่
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
**สามารถต่อภาษีวันเสาร์-อาทิตย์ได้**
- Big-C เวลาเปิด-ปิด 09.00 – 17.00 น.
สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่และบางนา
- เซ็นทรัล รามอินทรา เวลาเปิด 10.00 – 17.00 น.
- พาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ เวลาเปิด 10.00 – 17.00 น.
- เซ็นทรัลเวิลด์ เวลาเปิด 11.00 – 18.00 น.
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.00 น.
- จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
- ที่ทำการไปรษณีย์
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้ ได้แก่
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
- รถแทรกเตอร์ (รย.13)
- รถบดถนน (รย.14)
- รถพ่วง (รย.16)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ (เวลาเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30 – 15.30 น.)
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้ ได้แก่
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
เงื่อนไข
- รถยนต์อายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี
- รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี
- ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการนำส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่คุณได้ระบุภายใน 10 วันนับจากวันที่ชำระเงิน
- ค่าบริการของเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม 40 บาท
- รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด 3 ปี ชำระได้ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
- การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
- สามารถขอใช้บริการผ่านสถานที่รับตรวจสภาพรถ และต่อภาษีรถยนต์ที่มีอัตราค่าบริการที่ 200-300 บาทต่อคัน
เมื่อคุณอ่านบทความนี้แล้วหลังจากนี้เรื่องภาษีรถยนต์จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากสำหรับคุณอีกต่อไป การต่อภาษีรถยนต์ครั้งหน้า จะเลือกทำด้วยตัวคุณเอง หรือเลือกใช้บริการผ่านตัวแทนการต่อภาษีก็ได้ การต่อภาษีรถยนต์จะเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป